เมนู

ชื่อว่า อุภิธรรม วินัยปิฎกทั้งสิ้น ชื่อว่า วินัย การทำการระงับกิเลส
ชื่อว่า อภิวินัย อธิบายว่า เป็นผู้มีความปราโมทย์อย่างโอฬารในธรรม
อภิธรรม วินัย และอภิวินัยนั้นทั้งหมด ด้วยประการฉะนี้. บทว่า กุสเลสุ
ธมฺเมสุ
เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถตติยาวิภัตติ. อธิบายว่า เป็นผู้ไม่
ทอดธุระ เพื่อต้องการบรรลุธรรมเหล่านั้น เพราะเหตุแห่งกุศลธรรม
ที่เป็นไปในภูมิ 4.
จบอรรถกถาปฐมนาถสูตรที่ 7

8. ทุติยนาถสูตร


ว่าด้วยธรรมอันกระทำที่พึ่ง 10 ประการ


[18] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่า
เป็นผู้ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย (เพราะว่า) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันกระทำที่พึ่ง 10 ประการนี้ 10 ประการ
เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะ
ก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายหนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่ง
สอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์
แล้ว พึงหวังควรเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความ
เสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็นมัชฌิมะก็ดี ผู้เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญ

ภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิหนอ ดังนี้
ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ
ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย
อย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ภิกษุ
ทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุ
นั้นว่า ภิกษุนี้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดีหนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่า
กล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ
อันเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่
พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย คือ ประกอบด้วยธรรมเครื่อง
กระทำความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับอนุสาสนีโดยเคารพ ภิกษุ
ทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุ
นั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้ว่าง่าย คือ ประกอบด้วยธรรมเครื่องการทำความเป็น
ผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับอนุสาสนีโดยเคารพหนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึง
ว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ
อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวัง
ความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจที่ควรทำ
อย่างไร ทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย เป็นผู้ประกอบด้วย
ปัญญาเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในกิจนั้น อาจทำ อาจจัดได้ ภิกษุ
ทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุ

นั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจที่ควรทำอย่างไร ทั้งสูงทั้งต่ำ
ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณา
อันเป็นอุบายในกิจนั้น อาจทำ อาจจัดได้หนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าว
สั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ
อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่
พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดง
ธรรมอันเป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัย
อันยิ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี
ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรม
อันเป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่งหนอ
ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็น
มัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรม
ทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม
ทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มี
ความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย
ผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า
ภิกษุนี้เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง
มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่หนอ ดังนี้
ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ
ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย

อย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อม นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ตามมีตามได้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็น
เถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้
เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็น
ปัจจัยแก่คนไข้ ตามมีตามได้หนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน
ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว
พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อม
เลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่อง
รักษาคนอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งสิ่งที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นานได้
ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญ
ภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตน
อย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งสิ่งที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นานได้หนอ
ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็น
มัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรม
ทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา อัน
เห็นความเกิดความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดย
ชอบ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อม
สำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาอันเห็น
ความเกิดความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

หนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ
ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศล
ธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำ
ที่พึ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็น
ผู้ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย (เพราะว่า) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่ง ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันกระทำที่พึ่ง 10 ประการนี้แล.
จบทุติยนาถสูตรที่ 8

อรรถกถาทุติยนาถสูตรที่ 8


ทุติยนาถสูตรที่ 8

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า เถรานุกมฺปิตสฺส ได้แก่ ผู้ที่พระเถระทั้งหลายอนุเคราะห์
ด้วยการแผ่ประโยชน์เกื้อกูล ที่อุตสาหะเพราะการโอวาทและพร่ำสอน
เป็นเหตุ.
จบอรรถกถาทุติยนาถสูตรที่ 8

9. ปฐมอริยวสสูตร


ว่าด้วยธรรมเป็นที่อยู่แห่งพระอริยะ 10 ประการ


[19] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่อยู่แห่งพระอริยะ ที่พระ-
อริยะอยู่แล้วก็ดี กำลังอยู่ก็ดี จักอยู่ก็ดี 10 ประการนี้ 10 ประการเป็น
ไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละองค์ 5 ได้แล้ว 1 ประกอบด้วย
องค์หก 1 รักษาแต่อย่างเดียว 1 มีธรรมเป็นที่พักพิง 4 ประการ 1 มี
ปัจเจกสัจจะบรรเทาได้แล้ว 1 มีการแสวงหาอันสละเสียแล้วด้วยดี 1 มี